วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1. คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง อธิบาย พร้อมรูปประกอบ
มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่

(1). ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
1.1 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้ง



1.2 โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน กับแล็ปท็อป
1.3 แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม
1.4 ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก

(2). สถานีงานวิศวกรรม (engineering workstation)
ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่นโปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร
การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้
สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตามหลักจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer :RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อนาที
(3). มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)
มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร



(4). เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก
เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด
ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม

(5). ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุะ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียว






วันที่ 27 มิถุนายน 2551



2. คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง พร้อมรูปประกอบ

คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น



ข้อมูลจาก..http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551



3. ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร


ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำ สำหรับ สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล



เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551






4. VLSI คืออะไร มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร

VLSI วีแอลเอสไอ
ความหมายย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) หมายถึงการสร้างชิป (chip) โดยสามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มาก ในปัจจุบัน มีการสร้างชิปที่มีประตูมากยิ่งไป กว่านั้น เรียกว่า ULSI ( ultra large scale integraton หรือวงจรรวมความจุสูงยิ่ง)


เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิคส์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor)
การใช้ VLSI เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้น เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก
การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูง เพราะ VLSI เพียงชิพเดียวสามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ขณะเดียวกันพัฒนาของฮาร์ดดิสก์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ราคาถูกลง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงปาล์มทอป (palm top) โน็ตบุ๊ค (Notebook)




เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551



5. นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ ในอะไรบ้าง ให้อธิบาย

- หาข้อมูลข่าวสาร

- พิมพ์เอกสาร

- หาความรู้ ท่องอินเตอร์เน็ต

- เพื่อความบันเทิง ได้แก่ เล่นเกมส์ ฟังเพลง ดูหนัง ฯลฯ

ข่าวสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

เทคโนฯไร้สายในโรงพยาบาลเสี่ยงทำเครื่องช่วยหายใจดับ




การศึกษาพบ ระบบจัดการเครื่องมือแพทย์แบบไร้สายในโรงพยาบาลมีความเสี่ยงรบกวนการทำงานเครื่องช่วยชีวิต เครื่องอาจดับหรือทำงานผิดพลาดและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย วอนโรงพยาบาลทดสอบและศึกษาผลข้างเคียงของระบบไร้สายให้ดีก่อนจะนำมาใช้จริง นักวิจัยเนเธอร์แลนด์ระบุว่า คลื่นสัญญาณไมโครชิปสำหรับการส่งข้อมูลในระบบแบบไร้สายคือสาเหตุอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการศึกษาพบว่า อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยชีวิต โดยเฉพาะเครื่องช่วยหายใจนั้นจะตอบสนองต่อสัญญาณรบกวนรวดเร็วมาก คลื่นวิทยุจากไมโครชิปเหล่านี้จึงเสี่ยงต่อการถูกรบกวนการทำงานสูง จากการทดสอบกว่า 123 ครั้งในโรงพยาบาลอัมสเตอร์ดัมพบว่า มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของการทดสอบที่อุปกรณ์ช่วยชีวิตมีภาวะแม่เหล็กไฟฟ้าบกพร่องหากมีอุปกรณ์ฝังไมโครชิปถูกวางไว้ใกล้เครื่องช่วยชีวิตในระยะ 1 ฟุต ขณะที่กว่า 20 กรณีเครื่องช่วยชีวิตทำงานผิดพลาดในระดับเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยอาการหนัก ที่สำคัญ กรณีเครื่องช่วยหายใจดับเคยเกิดขึ้นในการทดสอบด้วย เครื่องมือแพทย์ฝังไมโครชิปนั้นมักนำมาใช้ประโยชน์ในแง่การติดตามเครื่องมือในโรงพยาบาล สามารถป้องกันการขโมยได้ดีและอำนวยความสะดวกให้การค้นหาเครื่องในสถานบาลทำได้ง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังถูกวางตัวให้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาปลอมแปลงยาด้วย ดร. Erik Jan van Lieshout ผู้ร่วมวิจัยและนักวิชาการระวังภัยของมหาวิทยาลัย University of Amsterdam's Academic Medical Center ระบุว่า ผลการทดสอบชี้ชัดว่าโรงพยาบาลควรทดสอบระบบไร้สายให้รัดกุมก่อนเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และจะดีมากหากมีการร่วมมือจากฝ่ายโรงพยาบาล หน่วยงานกำกับดูแลจากภาครัฐ และผู้ผลิต มาร่วมแรงทดสอบเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างพร้อมเพรียง





จาก..http://www.bcoms.net/news/detail.asp?id=8509
สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2551



อัสซุสบุกภูธร ส่งพีดีเอใหม่ หวังแบ่ง 30%

นายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัสซุสเทค (คอมพิวเตอร์) ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าหมายปีนี้มีส่วนแบ่งการตลาดพีดีเอโฟน 30% ของตลาดจาก 20% โดยคาดจะมียอดขายทุกรุ่นรวมกัน 3 หมื่นเครื่อง
บริษัทเดินกลยุทธ์ขยายตลาดไปต่างจังหวัด เพื่อเจาะตลาดลูกค้าวัยรุ่น วัยเริ่มต้นทำงาน และผู้สนใจเทคโนโลยี ซึ่งล่าสุดเปิดตัวพี 320 มินิ จีพีเอส พีดีเอ โฟน ราคา 14,900 บาท เป็น “ไฮไลต์” ขยายสู่ลูกค้าเป้าหมาย จากขนาดกะทัดรัด น้ำหนัก 105 กรัม หน้าจอ 2.6 นิ้ว ระบบทัชสกรีน กล้อง 2 ล้านพิกเซล พร้อมระบบปฏิบัติการวินโดว์ส โมบาย 6.1 โปรเฟสชั่นนัล ตั้งเป้าขายได้ไม่ต่ำกว่า 3 เครื่องต่อเดือน โดยบริษัทจะใช้งบการตลาดร่วม 10 ล้านบาท มีกิจกรรมทั้งจัดโรดโชว์ต่างจังหวัด และการผลิตภาพยนตร์โฆษณาส่วนไตรมาสแรก อัสซุสมีอัตราการเติบโต กว่า 62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดิมคาดโต 50% เพราะมีผลิตภัณฑ์หลากรุ่น และราคาเครื่องพีดีเอลดต่ำลงจนเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม ทั้งวัยรุ่น วัยเริ่มทำงาน จาก 2-3 ปีก่อนราคาไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท รูปแบบดีไซน์ คุณสมบัติจำกัดอยู่ในกลุ่มลูกค้านักธุรกิจ แต่ปัจจุบันเน้นดีไซน์เข้าถึงทุกกลุ่มลูกค้า แต่ยังคงคุณสมบัติการใช้งานที่โดดเด่น เช่น การมีจีพีเอส แผนที่ทั่วไทยปัจจุบัน รายได้หลักของอัสซุสอยู่ในกรุงเทพฯ มีต่างจังหวัด 20% แต่อนาคตการเติบโตมาจากเมืองหลักๆ ที่ยังขยายได้อีกมาก โดยรุ่นใหม่นี้จะเป็นหลักทำตลาด
สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2551
...................................................................................